คือ กองทุนประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายในการบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรให้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น ตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น Options Futures หรือ Forward) การทำ Short Sell การทำ Arbitrage หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
Hedge Fund (HF)
เฮดจ์ฟันด์เริ่มมีการพัฒนาและมีบทบาทอย่างมากในตลาดการเงินการลงทุนของโลก ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 90 โดยจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1,373 กองทุนในปี 1988 มาเป็น 7,000 กองทุน ในปลายปี 2001 มีจำนวนเงินภายใต้การบริหารเพิ่มจาก 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Van Hedge Fund Advisors International)
Hedge Fund กับ Mutual Fund
เฮดจ์ฟันด์ (Hedge Fund) กับ กองทุนรวมทั่วไป (Mutual Fund) มีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นการรวบรวมเงินที่ได้จากผู้ลงทุนมาลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวมทั่วไป คือ "จุดมุ่งหมายในการแสวงหาผลตอบแทน" ทั้งนี้กองทุนรวมทั่วไป มีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark)
ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตราสารทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะทำผลตอบแทนให้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กองทุนที่มีการบริหารเงินลงทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพ ย่อมต้องได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมากกว่า ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบ และกองทุนติดลบน้อยกว่า ก็ถือว่ากองทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ดีกว่า ในขณะที่กองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจ Benchmark แต่สนใจที่ตัวกำไร หรือผลตอบแทนที่เป็นบวกเท่านั้น (Positive Absolute Returns) ดังนั้นถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนติดลบ ก็จะถือว่าบริหารกองทุนล้มเหลว
Hedge Fund มีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ
การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่เสนอขายต่อประชาชนรายย่อย เนื่องจากไม่ต้องดำรงสัดส่วนการลงทุนตามประกาศของหน่วยงานที่ควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มักคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดยกำหนดให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จึงจำกัดผู้ลงทุนไว้ที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) หรือนักลงทุนที่เป็นบุคคลฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุนประเภทนี้อย่างเพียงพอ (Sophisticated and Wealthy Investors) และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ส่วนใหญ่แล้วจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หนึ่ง ๆ จะมีอยู่ไม่เกิน 100 รายเท่านั้น
**คำเตือน** การลงทุนและการเก็งกำไรมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนและผู้เก็งกำไรควรเรียนรู้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน ก่อนการตัดสินใจในการลงทุนหรือการเก็งกำไรใด ๆ
สถาบันรวยอิสรภาพเปรียบเสมือนโรงเรียนคือ "มีหน้าที่ให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้เรียนเท่านั้น" สถาบันรวยอิสรภาพ "ไม่ได้มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินต่างๆ" และ "ไม่ได้มีหน้าที่ขายหน่วยลงทุนหรือเป็นตัวแทนในการชักชวนให้มาระดมทุน" ในประเทศไทย ผลงานในอดีตไม่ได้เป็นการการันตีผลงานในอนาคต ผลงานการกำไรขาดทุนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลจากความรู้และประสบการณ์ส่วนบุคคล การนำเสนอข้อมูลของสถาบันรวยอิสรภาพอยู่บนสมมุติฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันรวยอิสรภาพเท่านั้น สถาบันรวยอิสรภาพขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวัน เวลา และสถานที่ ในการจัดการอบรมสัมมนาในทุกกรณี
Comments